http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

"ยาสมาธิสั้น" 'ไม่ช่วยลูกฉลาดขึ้น

กรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ใน โซเชียลมีเดีย ถึงการที่มีพ่อแม่ ผู้ปกครองบางรายว่านำ "ยาเมทิล เฟนิเดต" (Methylphenidate) ซึ่งเป็น ยาที่ใช้รักษาเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น ไปให้บุตรหลานที่เป็นเด็กปกติกิน เพื่อหวังให้มีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้นนั้น

 

พญ. วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเมทิลเฟนิเดตว่า เป็นยารักษาโรคสมาธิสั้น ออกฤทธิ์ให้เด็กที่มีพฤติกรรมซน ไม่อยู่นิ่ง วู่วาม หุนหัน มีสมาธิมากขึ้น ยาชนิดนี้ราคาไม่แพง แต่ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ส่วนใหญ่จะต้องให้แพทย์สั่งจ่ายเฉพาะที่โรงพยาบาลเท่านั้น

 

พญ.วิมลรัตน์บอกว่า ยาดังกล่าวนี้จะไปเพิ่ม "สารสื่อประสาท" ในสมองส่วนหน้า เมื่อกินยาแล้ว เด็กจะมีสมาธิกลับมาดีขึ้น แต่ถ้ายาหมดฤทธิ์ก็อาจจะกลับมาไม่อยู่นิ่งเหมือนเดิม การกินยาชนิดนี้ไม่ถือเป็นการรักษาโรคสมาธิสั้น เพียงแต่ยาตัวนี้จะช่วยคุมให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น อยู่นิ่งมากขึ้น เมื่อเด็กนิ่งขึ้น หากจะมีการบอกหรือสอนสิ่งอื่นใด จะทำให้เด็กเข้าใจมากขึ้น

 

ส่วนการที่มีผู้ปกครองบางรายนำยาชนิดนี้ไปให้เด็กปกติกิน จะมีผลอะไรหรือไม่อย่างไรนั้น พญ.วิมลรัตน์กล่าวว่า เชื่อว่าไม่ได้มีผลอะไรกับเด็กมากนัก เพราะยาชนิดนี้ไม่มีผลข้างเคียง แต่หากเด็กที่กินไม่มีความผิดปกติใดๆ ทางสมอง ก็เท่ากับกินยาไปโดยเปล่าประโยชน์ สิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ

 

"เด็กปกติที่ไม่มีสมาธิในการเรียนรู้ในห้องเรียน มีต้นตอของปัญหาคือ ขาดความตั้งใจ มากกว่าป่วยทางสมอง ฉะนั้น ถ้ากินยาเข้าไปก็อาจจะมีผลต่อสมองบ้าง เช่น เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็กลับมาเป็นเด็กที่ไม่มีสมาธิ ตามเดิม แต่ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องความตั้งใจ หรือแก้ที่นิสัยของเด็กคนนั้น" พญ.วิมลรัตน์กล่าว

 

และหากผู้ปกครองต้องการแก้ปัญหาเด็กปกติที่ไม่มีสมาธิควรจะใช้วิธีการฝึกฝน พูดคุย ทำความเข้าใจ มากกว่าที่จะใช้ยาหรือสารเคมีช่วย ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุดมากกว่า

 

พญ.วิมลรัตน์ ฝากถึงผู้ปกครองทุกคนว่า อย่าทำลายโอกาสบุตรหลานที่เป็นเด็กปกติ เพราะเขามีโอกาสจะพัฒนาตัวเองต่อไปได้ ถ้าพ่อแม่ใส่ใจดูแลมากกว่าที่จะหันไปพึ่งยา แต่หากผู้ปกครองมัวแต่พึ่งสารเคมี เด็กโตขึ้นก็จะกลายเป็นคนที่ไม่มีความอดทน หรือไม่มีความตั้งใจทำอะไรได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเท่ากับเป็นการทำร้ายเด็กทางอ้อม

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/36155

 

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,289
Page Views2,012,475
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view